วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

สิ่งที่ได้จากการเรียนคอมพิวเตอร์

ในการเรียนคอมพิวเตอร์นั้นเราอาจจะดูว่ามันนั้นยากในหลายๆเรื่องแต่เราก็ได้ในหลายๆด้าน
-การที่เราได้ตามทันโลก..เพราะในโลกปัจจุบันนั้น ไม่ว่าอะไรก็จะใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกำหนดแทบจะทุกอย่าง
โดยเฉพาะเรื่องการงานและการศึกษาล้วนแต่ต้องมีคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งสำคัญ คอมพิวเตอร์นั้น ณ ปัจจุบันนี้ได้ครอบคุมไปทั่วโลกก็ว่าได้ ทุกสิ่งทุกอย่างได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุดของมนุษย์และอนาคตภายภาคหน้าก็จะมีการพัฒนามากกว่านี้ เราจึงควรเรียนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ไว้เยอะๆจะได้ตามโลกทันและที่สำคัญจะได้ไม่โดนหลอก ตัวอย่างเช่น.. บุคคลใดที่มีคอมพิวเตอร์แล้วไม่เคยเรียนรู้แค่เอาไว้เล่นเกมหรืออะไรบ้างอย่างเมื่อเสียหรือชำรุดแล้วได้นำไปซ่อมโดยไม่รู้ว่าอะไรเลยก็อาจโดนโกงได้ .. อย่างเช่นอาจจะนำไปเปลี่ยนเอาอะไหร่ที่ไม่ดีให้เราแล้วเอาอะไหร่ของเราที่ไม่เสียไปขายต่ออีกก็เป็นได้ ดังนั้นเราจึกควรเรียนรู้ไว้บ้างเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกที่คนหลายคนคิดไม่ถึงคือ คอมพิวเตอร์สามารถสร้างรายได้ให้เราได้หากนำไปใช้ในวิธีที่ถูกต้อง(แต่ต้องไม่ผิดกฏหมายนะและไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นด้วย) ดังนั้นเราควรมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ไว้บ้างก็ดีครับ

ความหมายของซอฟแวร์


ซอฟแวร์หมายถึง คำสั่งหรือชุดของคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั่นเอง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ1. ซอฟแวร์ระบบ (System Software) 2. ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟแวร์ระบบ (System Software)

ซอฟแวร์ระบบ เป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นชุดคำสั่งแรกที่สำคัญที่สุด และยังแปลชุดคำสั่งต่าง ๆ ให้เป็นภาษาเครื่องอีกด้วย และ Software ระบบแบ่งออกได้ดังนี้ 1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating system :OS)2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utlity Program)3. โปแกรมแปลภาษา (Compiler, translator) ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งและเหมาะกับงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ 1. Package Program เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่เขียนไว้พร้อมนำไปใช้งานได้เลย เช่น - งานด้านเอกสาร (Word Processing) - งานด้านตัวเลข (Speed Sheets) - ฐานข้อมูล (Database) -งานภาพ (Graphics) 2. User Program เป็นโปรแกรมที่ผุ้ใช้คอมพิวเตอร์เขียนเองเพื่อใช้งาน


ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังภาพ

การแลรักษาคอมพิวเตอร์ของท่าน

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคืออย่างไร เช่น ในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไรมีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไรระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไรดังนั้นห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและความชื้น ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูงหรือตกกระทบกระแทกแรงๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์ 1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด 2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า 3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย 4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ 5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ 6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น 7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์ 8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย
ความร้อน
ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด
วิธีแก้ปัญหา • พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์ • ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง • ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ
ฝุ่นผง
เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆที่ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกนอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสค์หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้
วิธีแก้ไข • ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ • ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด • วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก • อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
สนามแม่เหล็ก
แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวรแหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น • แม่เหล็กติดกระดาาบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม • คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก • ไขควงหัวแม่เหล็ก • ลำโพง • มอเตอร์ในพรินเตอร์ • UPS
วิธีแก้ไข • ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ อาทิเช่น • แรงดันเกิน • แรงดันตก • ทรานเชียนต์ • ไฟกระเพื่อม
แรงดันเกิน ในกรณีที่เครื่องของท่านได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินจากปกติเป็นเวลานานกว่า วินาที จะมีผลทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องเกิดความเสียหายได้
แรงดันตก ในกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าจะมีผลทำให้เกิดเหตุการณืไฟตกได้ไฟตกอาจทำให้การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลายผิดพลาดได้เนื่องจากเพาเวอร์ซัพพลายพยายามจ่ายพลังงานให้กับวงจรอย่างสม่ำเสมอโดยไปเพิ่มกระแส แต่การเพิ่มกระแสทำให้ตัวนำเพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์ต่างๆร้อนขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เกิดความเสียหายได้
ทรานเชียนต์ ทรานเชียนต์หมายถึง การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสุง(sags)หรือต่ำกว่าปกติ(surge)ในช่วงระยะเวลาสั้นๆทรานเชียนต์ที่เกิดในบางครั้งจะมีความถี่สูงมากจนกระทั่งสามารถ เคลื่อนที่ผ่านตัวเก็บประจุไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลาย เข้าไปทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้
ไฟกระเพื่อม ทุกครั้งที่ท่านเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำให้กำลังไฟเกิดการกระเพื่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ที่ต้องการกระแสไฟฟ้ามากๆก็จะทำให้ความแรงของการกระเพื่อมมีค่ามากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่าการเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการกระเพื่อมภายในเสี้ยววินาทีการกระเพื่อมจะมีผลต่อทุกๆส่วนภายในตัวเครื่อง รวมทั้งหัวอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ด้วย
วิธีแก้ไข • ในกรณีไฟเกิน ไฟตก และทรานเชียนต์ แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า หรือ ที่เรียกว่า Stabilizer • ส่วนไปกระเพื่อม แก้ได้โดยการลดจำนวนครั้งในการปิดเปิดเครื่อง
ไฟฟ้าสถิตย์
ไฟฟ้าสถิตย์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลแต่ในสภาวะที่อากาศแห้งจะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูงประจุของไฟฟ้าสถิตย์จะสะสมอยู่เป็นจำนวนมากและหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น
วิธีแก้ไข • ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์ ด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
น้ำและสนิม
น้ำและสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดสนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ต้องทิ้งลงถังขยะสถานเดียว
วิธีแก้ไข • หลีกเลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน • กรณีการรั่วซึมของแบตเตอรี่ แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เมื่อเครื่องของท่านมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี เป็นต้นไป
การบำรุงรักษาตัวเครื่องทั่วๆไป • เครื่องจ่ายไฟสำรอง (UPS) ถ้ามีงบประมาณเพียงพอควรติดตั้งร่วมกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเพราะ UPS จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาทางไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายของข้อมูลและชิ้นส่วนอื่นๆ • การติดตั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือถ้ามีไม่มีเครืองปรับอากาศควรเลือกห้องที่ปลอดฝุ่นมากที่สุดและการติดตั้งตัวเครื่อง ควรจากผนังพอสมควรเพื่อการระบายความร้อนที่ดี • การต่อสาย Cable ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆเช่น Printer Modem Fax หรือส่วนอื่นๆจะต้องกระทำเมื่อ power off เท่านั้น • อย่าปิด - เปิดเครื่องบ่อยๆ เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ • ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ เพราะจะทำให้อุปกรณ์บางตัวเกิดความเสียหายได้ • อย่าเปิดฝาเครื่องขณะใช้งานอยู่ ถ้าต้องการเปิดต้อง power off และถอดปลั๊กไฟก่อน • ควรศึกษาจากคู่มือก่อนหรือการอบรมการใช้งาน Software ก่อนการใช้งาน • ตัวถังภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของเหล็กกับพลาสติกเมื่อใช้นานๆจะมีฝุ่นและคราบรอยนิ้วมือมาติดทำให้ดูไม่สวยงามและถ้าปล่อยไว้นานๆจะทำความสะอาดยากจึงควรทำความสะอาดบ่อยๆอย่างน้อย1-2เดือนต่อครั้งโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดที่ตัวเครื่อง หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ และที่สำคัญคือ ควรใช้ผ้าคลุมเครื่องให้เรียบร้อยหลังเลิกใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นผงต่างๆ
การบำรุงรักษา Hard Disk
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากยากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ • การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้ • ควรเลือกใช้โตีะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนได้ • ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Hard Disk ด้วยโปรแกรม Utility ต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Hard Disk ที่ใช้งานไม่ได้
การบำรุงรักษา Disk Drive
ช่องอ่านดิสก์เมื่อทำงานไปนานๆหัวอ่านแผ่นดิสก์อาจจะเสื่อมสภาพไปได้ หัวอ่านดิสก์เกิดความสกปรกเน่องจากมีฝุ่นละอองเข้าไปเกาะที่หัวอ่านหรือเกิดจากความสกปรกของแผ่นดิสก์ที่มีฝุ่น หรือคราบไขมันจากมือ ผลที่เกิดขึ้นทำให้การบันทึก หรืออ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ไม่สามารถดำเนินการได้
การดูแลรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้ • เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใดๆ • ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน • หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นานๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย
การบำรุงรักษา Monitor
ในส่วนของจอภาพนั้นอาจเสียหายได้เช่น ภาพอาการเลื่อนไหลภาพล้ม ภาพเต้นหรือไม่มีภาพเลย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะต้องให้ช่างเท่านั้นเป็นผู้แก้ไขผู้ใช้คอมพิวเคอร์ควรระมัดระวัง โดยปฏิบัติดังนี้ • อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์ • ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิซไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง • ไม่ควรปิดๆ เปิดๆ เครื่องติดๆกัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่ • ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง • อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง • เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ
การบำรุงรักษา Inkjet & Dotmatrix Printer
เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงผล รายงาน ของข้อมูลต่างๆทางกระดาษ การที่จะใช้เครื่องพิมพ์ทำงานได้เป็นปกติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรหมั่นดูแลรักษาดังนี้ •รักษาความสะอาดโดยดูดฝุ่นเศษกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่องพิมพ์ทุกเดือนหรือใช้แปรงขนนุ่มปัดฝุ่นเศษกระดาษออกจากเครื่องพิมพ์อย่าใช้แปรงชนิดแข็งเพราะอาจทำให้เครื่องเป็นรอยได้ • ถ้าตัวเครื่องพิมพ์มีความสกปรกอาจ ใช้ผ้านุ่มหรือฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเครื่องใช้สำนักงานเช็ดถูส่วนที่เปนพลาสติกแต่ต้องระมัดระวังอย่าใช้น้ำเข้าตัวเครื่อง พิมพ์ได้ และควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด ในตัวเครื่องเพราะอาจทำให้ระบบกลไกเสียหายได้ • ก่อนพิมพ์ทุกครั้งควรปรับความแรง ของหัวเข็มให้พอเหมาะกับความหนาของกระดาษ • ระหว่างพิมพ์ควรระวังหัวพิมพ์จะติดกระดาษ เช่น การพิมพ์ซองจดหมาย หรือกระดาษที่มีความหนาหรือบางเกินไป • อย่าถอดหรือเสียบสาย Cable ในขณะที่เครื่องพิมพ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ • ไม่ควรพิมพ์กระดาษติดต่อกันนานเกินไปเพราะอาจทำให้หัวอ่านร้อนมากทำให้เครื่องชะงักหยุดพิมพ์กระดาษ • เมื่อเลิกพิมพ์งานควรนำกระดาษออกจากถาดกระดาษ และช่องนำกระดาษ •ไม่ควรใช้กระดาษไข(Stencil Paper)แบบธรรมดากับเครื่องพิมพ์ประเภทแบบกระแทก(Dotmatrix Printer)เนื่องจากเศษของกระดาษไขอาจจะไปอุดตันเข็มพิมพ์ อาจทำให้เข็มพิมพ์อาจหักได้ควรใช้กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์แทนเพื่อป้องกันการชำรุดของเฟืองที่ใช้หมุนกระดาษ
การบำรุงรักษา Laser Printer
Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถพิมพ์ภาพได้อย่างคมชัดมากมีความละเอียดสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างสูงผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังในการใช้งานแม้ว่าโอกาสจะเสียหายมีน้อยก็ตาม ข้อควรปฏิบัติดังนี้ • การเลือกใช้กระดาษไม่ควรใช้กระดาษ ที่หนาเกินไปจะทำให้กระดาษติดเครื่องพิมพ์ได้ • ควรกรีดกระดาษให้ด ี อย่าให้กระดาษติดกัน เพราะอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดาษติดในตัวเครื่องพิมพ์ได้ • การใช้พิมพ์ Laser Printer พิมพ์ลงในแผ่นใส ก็ต้องเลือกใช้แผ่นใสที่ใช้ถ่ายเอกสารได้เท่านั้นหากใช่แผ่นใสแบบธรรดาซึ่งไม่สามารถทนความร้อนได้อาจจะหลอมละลายติดเครื่องพิมพ์ทำให้เกิดความเสียหาย

ความจำเป็นในการใช้ซอฟแวร์

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ชนิดของซอฟต์แวร์
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
ซอฟท์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที
ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3) ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี
ซอฟท์แวร์ประยุกต์
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟตืแวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์สำนักงาน

คอมพิวเตอร์สำนักงาน
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์สำนักงาน มีข้อพิจารณาไม่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมากนัก ทั้งนี้ผู้เขียนขอแนะนำสรุปเป็นประเด็นดังนี้
หน่วยประมวลผลกลาง – ความเร็วในการประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์สำนักงาน ควรพิจารณาจากลักษณะงานเป็นหลัก เช่นคอมพิวเตอร์สำนักงานทั่วไป สำหรับการพิมพ์จดหมาย รับส่งเอกสาร คำนวณข้อมูลที่ไม่ซับซ้อน ควรมีความเร็วในช่วง 550 - 800 MHz ก็นับว่าเพียงพอแล้ว แต่ถ้างานอื่นๆ เช่นงานกราฟิก, งานโปรแกรมมิ่ง, งานประมวลผลระดับสูง ก็ควรพิจารณาความเร็วไม่น้อยกว่า 1 GHz
หน่วยความจำ – เช่นเดียวกับความเร็วในการประมวลผล คอมพิวเตอร์สำหรับงานสำนักงานทั่วไป อาจจะมีความจุเพียง 64 – 128 MB แต่คอมพิวเตอร์สำหรับงานระดับสูงไม่ควรต่ำกว่า 128 MB และหากเป็นคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server) ก็ไม่ควรต่ำกว่า 512 MB
อุปกรณ์อ่านและบันทึกข้อมูล – ฮาร์ดดิสก์ไม่ต่ำกว่า 40 GB ไม่น้อยกว่า 1 ตัว ช่องขับแผ่นดิสก์ (Disk Drive) ขนาด 1.44 นิ้ว 1 ช่อง ซีดีรอมไดร์ฟความเร็วไม่น้อยกว่า 40x 1 ตัว สำหรับคอมพิวเตอร์งานระดับสูง ควรเพิ่มซีดีรอมไดร์ฟแบบเขียนทับได้ (CD-RW Drive) อีก 1 ตัวสำหรับการบันทึกทำสำเนา
ช่องเสียบและพอร์ต (Slot & Port) – พอร์ตประกอบด้วย 1 PS/2 Port, 1 Parallel Port, 2 Serial Port, 2 USB Port เป็นอย่างต่ำ มีช่องเสียบแบบต่างๆ ไม่น้อยกว่า 4 ช่อง
จอภาพ – จอภาพแบบจอสี ความกว้างหรือขนาดของจอ (วัดในแนวทแยงมุม) ไม่น้อยกว่า 15 นิ้ว สามารถแสดงผลความละเอียดไม่น้อยกว่า 1204  768 pixels ระบบประหยัดพลังงาน และแสดงผลแบบ Non-Interlace ซึ่งแสดงภาพได้นิ่ง ภาพไม่สั่นไหว
เครื่องพิมพ์ – หากจำเป็นต้องพิมพ์เอกสารแบบมีสำเนา เครื่องพิมพ์หัวเข็มก็ยังมีความจำเป็นเลือกใช้ ควรเลือกเครื่องพิมพ์หัวเข็ม 24 เข็ม (Pin) แบบแคร่ยาว และหากต้องการพิมพ์เอกสารสำนักงาน ควรเลือกเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ จะเหมาะสมกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก

ชนิดของเมาส์

เมาท์คืออุปกรณ์ใช้ในการป้อนข้อมูลเข้าที่เรามักใช้ในการคลิกเลือกปุ่มหรือไอคอนต่างๆเพื่อสั่งให้โปรแกรมทำงานตามต้องการ เมาท์ช่วยให้เราสามารถเลื่อนพอยน์เตอร์ไปยังตำแหน่งต่างๆบนจอภาพแล้วทำการคลิกเลือกตัวเมนูตามที่เราต้องการ

1.เม็คคานิคัลเมาส์ จะมีลูกบอลที่ทำด้วยยางอยู่ในตัวเมาส์และจะหมุนเมื่อเมาส์เลื่อนไปมา การหมุนของลูกบอลจะกระทบตัวเข้ารหัส ซึ่งเป็นลูกกลิ้งที่ตั้งฉากกันอยู่คู่หนึ่งจะสัมผัสกับวงล้อโลหะในขณะที่วงล้อคู่นี้หมุนจะสัมผัสกับเส้นลวดขนาดเล็กๆ อย่างเป็นจังหวะทำให้กระแสไหลครบวงจร ตัวเซนเซอร์ ก็จะทราบระยะและทิศทางและแกน x และแกน yและจะทำการคำนวณค่าว่าเมาส์เคลื่อนไปที่ไหนบนจอ 2.ออปโตเม็คคานิคัลเมาส์ การทำงานของเมาส์ชนิดนี้จะคล้ายกับการทำงานของเม็คคานิคัลเมาส์ ต่างกันที่จะใช้ออปติคัลเซนเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของลูกยางแทน โดยออปติคัลเซนเซอร์จะดักจับแสงจากรูเล็กๆ ภายในวงล้อ บนแกนหมุนทั้งแกนx และแกน y ก็จะสามารถวัดความเร็วและทิศทางของเมาส์ได้ 3.ออปติคัลเมาส์ คือจะใช้การตรวจจับลำแสงเลเซอร์ที่เปล่งจากไฟในเมาส์และสะท้อนกลับจากแผ่นรองเมาส์แบบพิเศษก็สามารถตรวจจับการเคลื่อนที่ได้ แสงที่เปล่งออกมานั้นจะมาจาก LED และมี Photo Transceiver เป็นตัวรับแสง มีแผ่นรองเมาส์แบบพิเศษเป็นโลหะตีตารางสีดำ เมื่อเคลื่อนตัวเมาส์ไปมา แสงจากไฟทั้งสองดวงก็จะส่องไปที่แผ่นรองแล้วสะท้อนกลับไปยัง Photo Transceiver เพื่อบอกตำแหน่งในแกน x และแกน y ตัวทรานซิสเตอร์ที่ใช้รับสัญญาณก็จะตรวจจับรูปแบบของแสงที่สะท้อนกลับมา แล้วใช้ข้อมูลนี้ในการวัดระยะทางที่เมาส์เคลื่อนที่การเชื่อมต่อเมาส์เข้ากับซีพี

หน้าจอคอมพิวเตอร์


ในยุคแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบการแสดงผลที่ใช้กับจอภาพสีเดียวที่เรียกว่าโมโนโครม หรือ เอ็มดีเอ (Monochrome Display Adapter : MDA) และแสดงผลได้เฉพาะภาวะตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง หากต้องการแสดงผลในภาวะกราฟิกก็ต้องเลือกภาวะการแสดงผลอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า ซีจีเอ (Color Graphic Adapter : CGA) ที่สามารถแสดงสีและกราฟิกได้แต่ความละเอียดน้อย
เมื่อมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีระบบการทำงานแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม (IBM compatible) ไอบีเอ็มจึงต้องกำหนดมาตรฐานการแสดงผลไว้ ต่อมาบริษัทเฮอร์คิวลีส ซึ่งเห็นปัญหาของระบบการแสดงผลทั้งสองนี้ จึงออกแบบแผลวงจรแสดงผล เรียกกันติดปากว่าแผงวงจรเฮอร์คิวลิส (herculis card) หรือ เอชจีเอ (Herculis Graphic Adapter : HGA) บางครั้งเรียกว่าโมโนโครกราฟิกอะแดปเตอร์หรือเอ็มจีเอ (Monochrome Graphic Adapter : MGA) การแสดงผลแบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันต่อเนื่องมาและมีผลิตขึ้นมาใช้กันมากมาย
ต่อมาบริษัทไอบีเอ็มเห็นว่าความต้องการทางด้านกราฟิกสูงขึ้น การแสดงสีควรจะมีรายละเอียดและจำนวนสีมากขึ้น จึงได้พัฒนามาตรฐานการแสดงผลบนจอภาพขึ้นอีกโดยปรับปรุงจากเดิมเรียกว่า อีจีเอ (Enhance Graphic Adapter : EAG) การเพิ่มเติมจำนวนสียังไม่พอเพียงกับซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับระบบปฎิบัติการวินโดวส์และโอเอสทูไอบีเอ็มจึงสร้างมาตรฐานการแสดงผลที่มีความละเอียดและสีเพิ่มยิ่งขึ้นเรียกว่า เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)
การเลือกซื้อจอภาพจะตัองพิจารณาความสัมพันธ์ของจอภาพกับตัวปรับต่อซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก (main board) และต่อสัญญาณมายังจอภาพ แผงวงจรนี้จะเป็นตัวแสดงผลตามมาตรฐานที่ต้องการ มีภาวะการแสดงผลหลายแบบ เช่น
ก. แผงวงจรโมโนโครมหรือแผงวงจรเอ็มดีเอ เป็นแผงวงจรที่ไม่ค่อยนิยมใช้แล้วแสดงผลได้เฉพาะตัวอักษรจำนวน 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร ขนาดความละเอียดของตัวอักษรเป็น 9x14 ชุด
ข. แผงวงจรเฮอร์คิวลิสหรือแผงวงจรเอชจีเอ แสดงผลเป็นตัวอักษรขนาด 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร เหมือนแผงวงจรเอ็มดีเอ แต่สามารถแสดงกราฟิกแบบสีเดียวด้วยความละเอียด 720x348 จุด
ค. แผงวงจรอีจีเอ เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วยความละเอียดของตัวอักษรขนาด 9x14 จุดแสดงสีได้ 16 สี ความละเอียดของการแสดงกราฟิก 640x350 จุด
ง. แผงวงจรวีจีเอ เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วย ความละเอียดของตัวอักษร 9x16 จุด แสดงสีได้ 16 สี แสดงกราฟิกด้วยความละเอียด 640x480 จุด และแสดงสีได้สูงถึง 256 สี
จ. แผงวงจรเอ็กซ์วีจีเอ เป็นแผงวงจรที่ปรับปรุงจากแผงวงจรวีจีเอ แสดงกราฟิกด้วยความละเอียดสูงขึ้นเป็น 1,024x768 จุด และแสดงสีได้มากกว่า 256 สี
ที่มา : www.prc.ac.th

การรักษาเมนบอร์ด

การบำรุงรักษาเมนบอร์ดเมื่อมีการถอดอุปกรณืเมนบอร์ดออกจากเครื่องควรพยายามถอดออกอย่างระมัดระวัง และควรทำการปัดฝุ่นให้สะอาด ระวังอย่าให้เมนบอร์ดโดนน้ำหรือตกหลนได้ เพราะจะทำให้อุปกรณ์ชิ้นชิ้นน้อยบนเมนบอร์ดเกิดชำรุด หรือหล่นหายทำให้เมนบอร์ดใช้งานไม่ได้อีกเลย เมื่อนำอุปกรณ์เมนบอร์ดมาตรวจสอบความเรียบร้อยพร้อมกับทำความสะอาดอย่างระมัดระวังก็ถึงเวลานำมาประกอบเข้ากับเครื่อง ก็ควรระวังเป็นพิเศษ ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเมนบอร์ดให้ครบทุกอย่างแล้วประกอบเข้าเครื่อง เมื่อเรารู้สึกว่าเกิดขัดข้องบนอุปกรณ์เมนบอร์ดขึ้นก็พยายามตรวจสอบและดูแลรักษาเมนบอร์ดหรือให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ โดยเฉพาะเป็นผุ้กระทำให้อุปกรณ์ เมนบอร์ดของเรายังคงสภาพเดิมและใช้งานได้ต่อไป

หน้าที่ของเมนบอร์ด

แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน เส้นทางการคมนาคมศูนย์ควบคุมการจราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลักและถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์เราจะแนะนำส่วนประกอบแต่ละส่วนของเมนบอร์ด ว่าประกอบด้วยส่วนประกอบใดบ้างเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ดนั้นอาจจะมีหลากหลายแตกต่างไปตาม แต่ผู้ผลิตแต่ละแต่ราย และแตกต่างไปตามเทคโนโลยี เพราะ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเมนบอร์ดแบบ ATX, Micro ATX, AT ทำให้ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ การวางส่วนประกอบต่างๆ การทำงานต่างของเมนบอร์ดแตกต่างกันออกไป

ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ในการศึกษา

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการับรู้ การจำ การคำนวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทำงานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์
การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า (input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก (main memory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณืส่งออก (output device) กลับไปสู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า และอุปกรณ์ส่งออก